รพ.หัวเฉียว รณรงค์วันหัวใจโลก ปรับพฤติกรรมลดเสี่ยงด้วยหลัก 3 อ 2 ส

รพ.หัวเฉียว รณรงค์วันหัวใจโลก ปรับพฤติกรรมลดเสี่ยงด้วยหลัก 3 อ 2 ส

เนื่องในวันหัวใจโลก  ซึ่งตรงกับวันที่ 29 กันยายนของทุกปี   ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลหัวเฉียว ได้จัดรณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ  ในเรื่องสาเหตุการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด การรักษา และที่สำคัญคือการป้องกัน เนื่องจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดติดอันดับ 1 ใน 3          ไม่เพียงแต่ผู้สูงอายุเท่านั้น แต่มีแนวโน้มการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนหนุ่มสาววัยทำงานสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  สาเหตุสำคัญมาจากการดำเนินชีวิตประจำวันของคนปัจจุบันที่มีความเคร่งเครียด การสูบบุหรี่  ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกาย หรือรับประทานอาหารที่มีโทษ เช่น ไขมันสูง มีรสเค็มจัด เป็นต้น

ก่อนอื่น ต้องมาทำความรู้จักกับโรคหัวใจและหลอดเลือด  ว่า  แบ่งได้ 4 ประเภทกว้างๆ คือ โรคลิ้นหัวใจและผนังกั้นห้องหัวใจ ซึ่งพบตั้งแต่กำเนิด คนไข้กลุ่มนี้มักไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน  โรคกล้ามเนื้อหัวใจ ที่พบบ่อยคือ กล้ามเนื้อหัวใจหนา เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน สาเหตุที่พบบ่อย คือ การสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ  โรคเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือ เชื้อวัณโรค  ส่วนใหญ่รักษาได้  โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กลุ่มนี้มีหลายชนิดทั้งอันตรายและไม่อันตราย สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก หอบ เหนื่อยง่าย ใจสั่น วูบ ในรายที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอาจพบว่ามีขาบวมร่วมด้วย

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคมีหลายวิธี  ได้แก่  การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การตรวจทางห้อง ปฏิบัติการ การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) การตรวจด้วยเครื่องตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (Exercise Stress Test) การฉีดสีสวนหัวใจ (Coronary angiography)  ส่วนการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด  จากเส้นเลือดหัวใจตีบหรือตัน  สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การทำบอลลูนหรือใส่ขดลวด  ค้ำยันหลอดเลือดหัวใจ และการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ

ดังนั้น  การป้องกันก่อนเป็นโรคจึงเป็นหนทางที่ดีที่สุด ด้วยหลักสำคัญของการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยง คือ หลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์)  และ 2 ส. (ไม่สูบบุหรี่ และลดการดื่มสุรา)

1.)  อ. อาหาร รับประทานพอดี กล่าวคือ รับประทานพอ หมายถึง กินอาหารครบทุกหมู่มากน้อยให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย  และสมดุลกับการออกแรงในแต่ละวัน รับประทานดี หมายถึง กินอาหารให้หลากหลายชนิด  ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้ (ควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีรสหวานน้อย)

2.)  อ. ออกกำลังกาย พอเพียง ซึ่งจะช่วยเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย ความทนทานของหัวใจ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดไขมันในเลือด ส่งเสริมกระบวนการใช้น้ำตาล ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคเบาหวาน ลดความดันโลหิตได้ประมาณ 8 – 10 มิลลิเมตรปรอท ลดความเครียด (เพิ่มระดับฮอร์โมนความสุข คือ ฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน) และทำให้สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.)  อ. อารมณ์ ผ่อนคลายไม่เครียด ความเครียดจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม

ความผิดปกติทางร่างกาย ได้แก่ ปวดศีรษะ ไมเกรน ท้องเสียหรือท้องผูก นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  เบื่ออาหารหรือกินมากกว่าปกติ  ประจำเดือนมาไม่ปกติ  เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ  ใจสั่น เป็นต้น

ความผิดปกติทางจิตใจ ได้แก่ ความวิตกกังวล คิดมาก คิดฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย หงุดหงิด โกรธง่าย  ใจน้อย  เบื่อหน่าย  ซึมเศร้า  เหงา  ว้าเหว่  สิ้นหวัง  หมดความรู้สึกสนุกสนาน เป็นต้น

ความผิดปกติทางพฤติกรรม ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มสุรามากขึ้น ใช้สารเสพติด ใช้ยานอนหลับ จู้จี้ขี้บ่น มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อยๆ ชวนทะเลาะ ดึงผม กัดเล็บ กัดฟัน ผุดลุกผุดนั่ง เงียบขรึม เก็บตัว เป็นต้น

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด  โรงพยาบาลหัวเฉียว  ให้บริการดูแลรักษาด้านหัวใจและหลอดเลือด ตลอด       24 ชั่วโมง โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจสาขาต่างๆ เช่น อายุรแพทย์โรคหัวใจ อายุรแพทย์สาขามัณฑนากรหัวใจและหลอดเลือด ศัลยแพทย์หัวใจ และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ เช่น พยาบาลที่ผ่านการอบรมทางด้านหัวใจ นักเทคโนโลยีหัวใจ พรั่งพร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้แก่ ห้องปฏิบัติการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cath lab) ที่สามารถตรวจภาวะหลอดเลือดตีบหรือตัน ขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดทั้งชนิดปกติและชนิดเคลือบยาพิเศษ ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันด้วยการใช้หัวกรอฝังเพชร (Rotablator) การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Bypass) การใส่กระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) มีหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ CCU (Coronary Care  Unit) ให้การดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจอย่างใกล้ชิด

โรงพยาบาลหัวเฉียว เป็นโรงพยาบาลเอกชนเพื่อสังคม (Social Enterprise) ในสังกัดมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มีมาตรฐานบริการเทียบเท่าโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ โดยมีนโยบายกำหนดค่าบริการที่สมเหตุสมผล โรงพยาบาลฯ มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ทำให้วันนี้ ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลหัวเฉียว ได้รับความไว้วางใจจากโรงพยาบาลหลายแห่งให้เป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วยมาทำ  หัตการด้านหัวใจ (Supra Contractor) จึงสามารถมั่นใจในการดูแลรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างครบวงจร โดยมุ่งมั่นที่จะให้การดูแลรักษาด้วยมาตรฐาน ระดับ HA… หัวใจคุณให้โรงพยาบาลหัวเฉียวดูแล