มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวิทยาลัยนานาชาติ ร่วมกับ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และ Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) จัดการเสวนาระดมสมอง APEC Media Focus Group ครั้งที่ 4 ภายใต้แนวคิด Smart City and Connectivity เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนักรู้ให้กับทุกภาคส่วนในสังคมในเรื่อง Smart City and Connectivity ที่ APEC ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาเมือง เศรษฐกิจ ให้กลายเป็นเมืองฉลาดอัจฉริยะ ทั่วทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารเรียนรวมพื้นฐาน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการเสวนา Smart City and Connectivity ได้รับเกียรติกล่าวเปิดงานโดย นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคของไทย ผศ. สิริมนพร ทิพสิงห์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ขอนแก่นเป็นศูนย์กลางความเชื่อมโยงในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเสวนาครั้งนี้จึงจะเป็นประโยชน์ในการเป็นเจ้าภาพเอเปกของประเทศโดยเฉพาะการแบ่งปันองค์ความรู้ประสบการณ์ด้านสมาร์ทซิตี้ของขอนแก่นให้สาธารณะชนรับทราบในวงกว้างซึ่งจะช่วยส่งเสริมโอกาสและศักยภาพของภาคธุรกิจของประเทศไทยในภูมิภาคได้อย่างเป็นรูปธรรม ในโอกาสที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดประชุม APEC ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติและโอกาสสำคัญอย่างยิ่งที่ไทยได้แสดงบทบาทในเวทีสำคัญระดับโลกผ่านการเสวนาที่เน้นความมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ขอนแก่นเป็นเมืองหลวงของการเจริญเติบโตในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เราจะพัฒนาเมืองได้ต้องมีทรัพยากรมนุษย์ที่ฉลาดมาก ท่ามกลางจุดแข็งที่ขอนแก่นมี อาทิ พื้นที่ทางการเกษตร ผู้คนฉลาด เมืองที่พร้อมต่อการขยายการเจริญเติบโต ทุกภาคมีประเด็นที่ต้องขับเคลื่อนต่อ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร การติดขัดข้องการเงิน การพัฒนาทักษะแรงงาน และที่สำคัญของการกระจายรายได้ เป็นเครื่องมือที่จะสร้างความเลื่อมล้ำของรายได้ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ล้วนแต่ต้องอาศัย Smart City and Connectivity ทั้งสิ้น
ผศ. สิริมนพร ทิพสิงห์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้วางแผนผลิตงานวิจัยที่เอื้อต่อการเป็น Smart City โดยงานวิจัยนี้พูดถึงการตลาดและการท่องเที่ยว ในเจนวาย (Gen Y ) สอบถามไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยว 389 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังจ่ายสูง ทำการวิจัยเกี่ยวกับมุมมองนักท่องเที่ยวว่า หากต้องการไปเที่ยวในเมืองนั้น มีมีองค์ประกอบใดใน smart city ที่เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจเข้าเยี่ยมชมหรือท่องเที่ยวในเมืองนั้น ๆ โดยโครงการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ขณะนี้อยู่ในระยะแรกที่สามารถระบุได้ว่ามี 3 ปัจจัยหลักที่นักท่องเที่ยวใช้พิจารณา คือ Smart People ต้องมีคนฉลาด Smart Mobility การเดินทางและขนส่ง ต้องงสะดวกสบายมีระบบอัจฉริยะ เพื่อที่จะให้มี Smart Living การดำรงชีวิตอัจฉริยะ 3 ส่วนนี้เป็นปัจจัยแรก ๆ ที่นักท่องเที่ยวจะตัดสินใจเพื่อท่องเที่ยวเมืองนั้น ๆ งานวิจัยนี้เป็นผลงานที่อาจารย์และนักศึกษาตั้งใจจะผลิตออกมาเมื่อถึงระยะ
ข่าว / ภาพ : จิราพร ประทุมชัย