60 ปี วว. ก้าวต่อไปสู่งานวิจัยและพัฒนาเพื่อชุมชน/ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

60 ปี วว. ก้าวต่อไปสู่งานวิจัยและพัฒนาเพื่อชุมชน/ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  ร่วมกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดงาน  60  ปี วว. “ก้าวต่อไปสู่งานวิจัยและพัฒนาเพื่อชุมชนและท้องถิ่นอย่างยั่งยืน  เพื่อให้การดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน พร้อมทั้งหน่วยงานด้านสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษามีการบูรณาการร่วมกันอย่างยั่งยืน ก่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์  ในวันที่  8  สิงหาคม  2566  ห้องประชุมพยับหมอก อาคารสำนักงานอธิการบดีและบริหารสินทรัพย์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย  พิธีลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่าง พิธีลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่าง ผู้ว่าการ วว. และ รศ.จิรพันธ์ ห้วยแสน  อธิการบดี มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พิธีมอบกล้าพันธุ์ปลอดโรคให้กับเกษตรกลุ่มแปลงใหญ่   การเสวนาหัวข้อ Driven for the future  แนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์  นิทรรศการเทคโนโลยีเกษตรมูลค่าสูง  เกษตรปลอดภัยและเกษตรลดต้นทุน รวมทั้งการเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการเพื่อชุมชน (ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ tissue culture และห้องจุลินทรีย์ทางการเกษตร)

ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ  วว. กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อก้าวต่อไปสู่งานวิจัยพัฒนาเพื่อพัฒนาประเทศ  ว่า วว. มีภารกิจหลักที่สำคัญ คือ วิจัย พัฒนา และบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างคุณค่ามูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจประเทศ บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตอบสนองการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม สู่ภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน พร้อมผลักตันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นภารกิจที่สำคัญในการดำเนินงานของ วว. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค ซึ่งถือเป็นโอกาสและหัวใจของประเทศ วว. ได้นำยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์ของ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม  เข้าไปสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจฐานรากจากทรัพยากรท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมและตอบสนองวิถีชีวิตในอนาคต (Inclusive Growth & Wellness)  โดยใช้และรักษาทรัพยากร เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสได้ใช้ต่อไป ตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable development)

ผู้ว่าการ วว.  กล่าวต่อว่า  วว. เป็นหน่วยงานภาครัฐ ในฐานะผู้ผลิตเทคโนโลยีของประเทศ เน้นการวิจัยและพัฒนาบนฐานทรัพยากรชีวภาพ เพื่อให้ทรัพยากรชีวภาพเหล่านี้ถูกยกระดับการใช้ประโยชน์ ส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าและสร้างคุณค่า ซึ่ง ปัจจุบัน วว. นำเทคโนโลยีที่ผลิตมาทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ในการพัฒนานักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการและเกษตรกร จำนวน 10 เทคโนโลยีหลักด้านการเกษตร ประกอบด้วย 1) เทคโนโลยีเกษตรมูลค่าสูง  ได้แก่   เทคโนโลยีดอกไม้กินได้  (Edible flower)  เทคโนโลยีไม้ดอกไม้ประดับและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  เทคโนโลยีเห็ดเสริม Selenium และเทคโนโลยีการยืดอายุผักและเห็ด  เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้เกษตรกร  ลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตที่ผันผวนตามราคาตลาดโลก (ข้าวและมันสำประหลัง) และเป็นอาชีพเสริมเสริมอาชีพหลักให้กับเกษตรกรร่วมด้วย  2) เทคโนโลยีเกษตรปลอดภัย ได้แก่ เทคโนโลยี Hydroponic  เทคโนโลยีชีวภัณฑ์ เพื่อให้เกษตรกรที่ทำเกษตรอยู่แล้วมีทักษะเพิ่มขึ้น (Reskill & Upskill) เพื่อการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการตลาดเพิ่มมากขึ้น 3)  เทคโนโลยีเกษตรลดต้นทุน ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยคุณภาพสูง  ซึ่งปุ๋ยถือเป็นต้นทุนหลักในการทำเกษตร โดยให้เกษตรกรรู้จักการผลิตปุ๋ยใช้เอง  ทำให้เกษตรสามารถคำนวณสัดส่วนใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพตามต้องการและมีต้นทุนการผลิตลดลง อีกทั้งอาจจะใช้วัตถุดิบในพื้นที่ด้วย

นอกจากเทคโนโลยีดังกล่าว วว. ยังได้พัฒนาหลักสูตรด้านการเกษตรที่ถือว่าเป็นงาน Qick win เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการเกษตรสู่การเกษตรอุตสาหกรรม  ได้แก่ Young  smart  famer  ผู้ประกอบการในธุรกิจ Agri  business  นักพัฒนาชุมชน ให้มีองค์ความรู้เชิงลึกและทักษะด้านการเกษตร เพื่อนำความรู้ไปส่งเสริมและขยายผล ประกอบด้วยหลักสูตร เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ ผัก และเห็ดเชิงการค้า จัดการเรียนการสอนในรูปแบบแบบ Non-degree ฝึกทำงาน พร้อมฝึกทักษะ ซึ่ง วว. ได้มอบเทคโนโลยีเหล่านี้ให้มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์นำไปขยายผลและปรับไปตามบริบทของเกษตรกรและพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยผ่านการทำความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ รวมทั้งหน่วยงานเครือข่าย  ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานให้ทุน (Funding  agency) หน่วยงาน function ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้เทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีพร้อมใช้และพร้อมสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้และพื้นที่อย่างยั่งยืน…” ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต กล่าว