วว. โชว์ผลงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยไม้ดอกไม้ประดับ @ มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564

วว. โชว์ผลงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยไม้ดอกไม้ประดับ @ มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564

กระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม  (อว.)  โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  (วว.)  นำผลงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยไม้ดอกไม้ประดับตอบโจทย์ เพิ่มศักยภาพเกษตรกร/ผู้ประกอบการ  ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ  Hybrid  ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 22-26 พฤศจิกายน  2564  จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)    โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ 

. (วิจัย) ดร. ชุติมา   เอี่ยมโชติชวลิต   ผู้ว่าการ วว.  กล่าวว่า  ผลงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยไม้ดอกไม้ประดับที่ วว. นำมาจัดแสดงนิทรรศการ Hybrid  โชว์ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติปีนี้  เป็นผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม ในการดำเนินงานวิจัยพัฒนา บูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ของ วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ เพื่อสร้างคุณค่า มูลค่าเพิ่ม ให้กับเศรษฐกิจประเทศ บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและร่วมขับเคลื่อนนโยบาย BCG ของรัฐบาล โดยมีกรอบแนวทางการดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตรอย่างชัดเจน ได้แก่ Bio Based Research วิจัยและพัฒนาบนฐานของทรัพยากรชีวภาพ ครอบคลุมภารกิจที่เกี่ยวข้องกับคลัสเตอร์เป้าหมายของประเทศ Appropriate Technology พัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหา ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ Total Solution Provider บริการด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสู่ระดับเชิงพาณิชย์ Community (Area Based) มุ่งเน้นการตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนในพื้นที่ต่างๆ

การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยไม้ดอกไม้ประดับของ วว. และพันธมิตร ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในประเทศไทย ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สามารถรวมกลุ่มผู้ประกอบการได้จำนวน 6 กลุ่มเป็นคลัสเตอร์ ประกอบด้วย คลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา เลย สุพรรณบุรี นครนายก รวมทั้งจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 90 ล้านบาทต่อปี ซึ่งมีการนำไปใช้จริงในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยนำงานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การผลิต ลิเซียนทัส เบญจมาศ ไทร ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก  วช.   เข้าไปดำเนินการและประสบผลสำเร็จ  ดังนี้  1.พัฒนาระบบการบ่มเมล็ดพันธุ์ในการผลิตลิเซียนทัส ช่วยให้เมล็ดเกิดการยืดของตาดอก (bolting) ช่วยให้เกษตรกรลดรายจ่ายในด้านต้นพันธุ์ และมีศักยภาพในการผลิตปลูกเลี้ยงเป็นไม้ดอกไม้ประดับในกระถาง 2. การพัฒนาระบบการผลิตเบญจมาศปลอดโรคเชิงพาณิชย์ เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิต พร้อมทั้งขยายเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์สู่ผู้ประกอบการ 3.พัฒนาเครือข่ายและแนวทางการปลูกเลี้ยงพืชสกุลไทร  เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน พร้อมส่งเสริมผู้ประกอบการมากกว่า 50 ราย ปลูกเลี้ยงไทรสายพันธุ์ใหม่ 4.พัฒนาองค์ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์จากพืชสกุลไทร พร้อมทั้งศึกษาระบบห่วงโซ่อุปทานความต้องการของตลาดพืชสกุลไทร เพื่อพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงให้ตรงความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์

นอกจากนี้ยังดำเนินงานผ่าน โครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับด้วยนวัตกรรมเกษตรตามแนวทางมาลัยวิทยสถานกระทรวง อว. เพื่อทำหน้าที่เป็นวิทยสถานแห่งปัญญา พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรม ตลาดไม้ดอกไม้ประดับและผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการไม้ดอกไม้ประดับ ในพื้นที่จังหวัดเลยและลำปาง โดยประสบผลสำเร็จพัฒนาศักยภาพในการผลิต การแข่งขัน ลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ให้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่ยั่งยืน พัฒนากระบวนการผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่หลากหลาย สู่การพัฒนาตลอดห่วงโซ่การผลิตเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและมีความยั่งยืนในการประกอบอาชีพ โดยการดำเนินโครงการขับเคลื่อนด้วย 4 กิจกรรมย่อย ดังนี้ 1.พัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานไม้ดอกไม้ประดับอัตลักษณ์ประจำถิ่นเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ 2.พัฒนาปัจจัยการผลิตในการทำเกษตรปลอดภัยสำหรับไม้ดอกไม้ประดับ 3.ยกระดับระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับที่ดีด้วยเกษตรแม่นยำ และ 4.พัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์ไม้ตัดดอกและไม้ประดับกระถางส่งตรงผู้บริโภค

“…ปัจจุบัน วว. มีงานวิจัยที่ตอบโจทย์ภาคการเกษตรของประเทศ ในรูปขององค์ความรู้ ผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย และแพลตฟอร์มการตลาดสินค้าเกษตรของไม้ดอกไม้ประดับ ที่จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานการสร้างรากฐานระบบผลิตสินค้าเกษตรของไม้ดอกไม้ประดับ สร้างความยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการในอนาคตสำหรับการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ รวมทั้งพืชผัก ผลไม้หลากหลายชนิด เพื่อยกระดับเกษตรกรไปสู่การเป็น Smart  Farming  และ วว. ยังได้นำ วทน. ไปช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร ในรูปแบบของอาหารฟังก์ชั่น เวชสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตลอดจนการยกระดับด้านการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนมั่นคงของเศรษฐกิจประเทศต่อไป…” ผู้ว่าการ วว. กล่าวในตอนท้าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและรับบริการจาก  ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์  วว. ได้ที่  โทร. 0 2577 9000, E-mail : tistr@tistr.or.th    https://www.tistr.or.th